เมนู

อธิบายธรรมเป็นกุศลติกที่ 1

*

บัดนี้ เป็นการพรรณนาบทตามบทมาติกา มีคำว่า กุสลา ธมฺมา
เป็นต้นนี้. กุศลศัพท์ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโรค ความไม่มีโทษ
ความฉลาด และมีสุขเป็นวิบาก
. จริงอยู่ กุศลศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า
ความไม่มีโรค ดังในประโยคมีอาทิว่า กจฺจิ นุ โภโต กุสลํ กจฺจิ โภโต
อนามยํ
(ความไม่มีโรค มีแก่ท่านผู้เจริญบ้างหรือ ความไม่ป่วยไข้ มีแก่
ท่านผู้เจริญบ้างหรือ). ใช้ในอรรถว่า ความไม่มีโทษ ดังในประโยคมีอาทิ
ว่า กตโม ปน ภนฺเต กายสมาจาโร กุสโล โย โข มหาราช
กายสมาจาโร อนวชฺโช...
(ข้าแต่ท่านพระอานนท์ กายสมาจารที่เป็นกุศล
เป็นไฉน ดูก่อนมหาบพิตร กายสมาจารที่ไม่มีโทษแล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ยังมีอีกข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นข้อธรรมที่เยี่ยม คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม
ในธรรมทั้งหลายอันไม่มีโทษ). ใช้ในอรรถว่า ความฉลาด ในประโยคมี
อาทิว่า กุสโล ตฺวํ รถสฺส องฺคปจฺจงฺคานํ กุสลา นจฺจคีตสฺส สุสิกฺขตา
จตุริตฺถิโย
(ท่านเป็นผู้ฉลาดในเครื่องประกอบของรถ และคำว่า หญิง 4 คน
ศึกษาดีแล้ว เป็นผู้ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง). ใช้ในอรรถว่า สุขวิบาก
* ได้แก่กุศลจิต 21 เจตสิก 38 แจกเป็นขันธ์ 4 อายตนะ 2 ธาตุ 2 สัจจะ 2 คือ เจตสิก
38 นั้น เวทนาเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเป็นสัญญาขันธ์ เจตสิกที่เหลือ 36 เป็นสังขารขันธ์
กุศลจิต 21 เป็นวิญญาณขันธ์. ได้อายตนะ 2 คือ กุศลจิต 21 เป็นมนายตนะ เจตสิก 38
เป็นธัมมายตนะ ได้ธาตุ 2 คือ กุศลจิต 21 เป็นมโนวิญญาณธาตุ เจตสิก 38 เป็นธรรมธาตุ
ได้สัจจะ 2 คือ โสกิยกุศลจิต 17 เจตสิก 38 เป็นทุกขสัจจะ องค์มรรค 8 ในปฐมฌานมรรค
หรือองค์มรรค 7 ในทุติยฌานมรรคขึ้นไปเป็นมัคคสัจจะ ส่วนธรรมที่เหลือในกุศลบทนี้ 29
เป็นสัจจวิมุตติ (พ้นจากสัจจะ 4) คือ โลกุตรจิต 4 ตามลักษณะจิตนับเป็น 1 เจตสิกที่
เหลือจากองค์มรรค 8 อีก 24 รวมมัคคจิตตุปบาท 29.

ดังในประโยคมีอาทิว่า กุสลานํ ภิกฺขเว ธมฺมานํ สมาทานเหตุ กุสลสฺส
กมฺมสฺส กตตฺตา
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะสมาทานธรรมทั้งหลายที่เป็น
สุขวิบาก และคำว่า เพราะทำกรรมที่เป็นสุขวิบาก) ในที่นี้กุศลศัพท์ควรใช้
ในอรรถว่า ไม่มีโรคบ้าง ไม่มีโทษบ้าง ในสุขวิบากบ้าง.
ธัมมศัพท์แม้นี้ ใช้ในอรรถว่า ปริยัติ เหตุ คุณ และนิสสัตต-
นิชชีวะ
เป็นต้น. จริงอยู่ ธัมมศัพท์นี้ใช้ในอรรถว่า ปริยัติ เช่นในประโยค
มีอาทิว่า ธมฺมํ ปริยาปุณาติ สุตฺตํ เคยฺยํ (กุลบุตรย่อมเล่าเรียนปริยัติ
คือ สุตตะ เคยยะ). ใช้ในอรรถ ว่า เหตุ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เหตุมฺหิ
ญาณํ ธมฺมาปฏิสมฺภิทา
(ญาณในเหตุ ชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา). ใช้ใน
อรรถว่า คุณ เช่นในคาถามีอาทิว่า
น หิ ธมฺโม อธมฺโม จ อุโภ สมวิปากิโน
อธมฺโม นิรยํ เนติ ธมฺโม ปาเปติ สุคตึ.
ธรรมและอธรรม ทั้งสองมีวิบาก
เสมอกันหามิได้ อธรรมย่อมนำไปสู่นรก
ธรรมย่อมให้ถึงสุคติ.

ใช้ในอรรถว่า นิสสัตตนิชชีวะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ตสฺมึ โข ปน
สมเย ธมฺมา โหนฺติ ธมฺเมสุ ธมฺมานุปสฺสี วีหรติ
(ก็สมัยนั้นแล
นิสสัตตนิชชีวธรรมทั้งหลายย่อมมี และคำว่า ภิกษุมีปกติพิจารณาเห็น
นิสสัตตนิชชีวธรรมทั้งหลายอยู่). แม้ในที่นี้ ธัมมศัพท์ควรใช้ในอรรถว่า
นิสสัตตนิชชีวะเท่านั้น.

วิเคราะห์ศัพท์ว่า กุศล และธรรม



พึงทราบความหมายของคำว่า กุศล เป็นต้นในที่นี้.
สภาวะที่ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ยังปาปกธรรมอันบัณฑิตเกลียด
ให้ไหว ให้เคลื่อนไป ให้หวั่นไหว คือให้พินาศ. อีกอย่างหนึ่ง สภาวธรรม
ใด ย่อมผูกพันโดยอาการที่บัณฑิตเกลียด สภาวธรรมนั้น ชื่อว่า กุสะ ธรรม
ที่ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ย่อมถอนขึ้น คือย่อมตัดกุสะ กล่าวคืออกุศล
เหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ญาณ ชื่อว่า กุสะ เพราะทำอกุศลอันบัณฑิตเกลียด
ให้สิ้นสุด หรือเบาบาง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า อันญาณ
ชื่อกุสะนั้นพึงตัด คือ พึงถือเอา พึงให้เป็นไปทั่วด้วยกุสญาณนั้น. อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ธรรมแม้เหล่านี้ ย่อมตัดส่วนสังกิเลสที่ถึงส่วน
ทั้งสอง คือ ที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่เกิด เหมือนหญ้าคาย่อมบาดส่วนแห่งมือ
ที่ลูบคมหญ้าทั้งสอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กุศล เพราะอรรถว่า ย่อมตัด
คือ ย่อมทำลายอกุศลเหมือนหญ้าคา ฉะนั้น.
ส่วนภาวะที่ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า ย่อมทรงไว้ซึ่งสภาวะของตน.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธรรม เพราะอรรถว่า อันปัจจัยทั้งหลายทรงไว้หรือว่า
ย่อมทรงไว้ตามสภาวะ ธรรมที่ชื่อว่า อกุศล เพราะอรรถว่า ไม่ใช่กุศล.
อธิบายว่า ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล เหมือนอมิตรเป็นปฏิปักษ์ต่อมิตร
อโลภะเป็นต้นเป็นปฏิปักษ์ต่อโลภะเป็นต้น. ธรรมที่ชื่อว่า อัพยากตะ เพราะ
อรรถว่า ไม่กระทำให้แจ้ง อธิบายว่า ท่านไม่กล่าวไว้โดยความเป็นกุศลและ
อกุศล. ในบรรดาธรรมทั้งสามนั้น กุศลมีความไม่มีโทษและมีวิบากเป็นสุข
เป็นลักษณะ. อกุศลมีโทษและมีทุกข์เป็นวิบากเป็นลักษณะ อัพยากตะมีอวิบาก
เป็นลักษณะ.